ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ เทศบาลตำบลครึ่ง จังหวัดเชียงราย  โทรศัพท์ : 053-783-328  โทรสาร : 053-783-329 คำขวัญ พระธาตุมากมีล้ำเลิศ  ถิ่นกำเนิด ว.วชิรเมธี พระพุทธรูปโบราณมีมากหลาย ผลิตภัณฑ์หวายลือชื่อ ผ้าทอมือสวยงาม บ่อน้ำซับกว้างใหญ่ประชาใฝ่คุณธรรม

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

ปลัด

ถังเงินถังทอง




facebook

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร



ระบบจัดการเว็บไซต์

ช่องทางร้องเรียน

ศูนย์ดำรงธรรม



กกต





สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 04/01/2564
วันนี้
82
เมื่อวานนี้
372
เดือนนี้
4,564
เดือนที่แล้ว
6,178
ปีนี้
42,154
ปีที่แล้ว
32,770
ทั้งหมด
91,938
ไอพี ของคุณ
3.214.184.223

2
พระเจ้าเข้ากาด,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

พระธาตุพระเจ้าเข้ากาด
วัดพระเจ้าเข้ากาดนี้สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ถ้าดูจากประวัติอำเภอเชียงของแล้ว จะอยู่ในราวปี พ.ศ.1805 ในสมัยนั้นขอมได้อาศัยอยู่ในแถบนี้คงสร้างวัดไว้ แต่ต่อมาได้ถูกรุกรานจึงได้อบพยบ หนีไปจึงได้ทิ้งวัดแห่งนี้ไว้เป็นวัดร้าง จากการค้นพบและสังเกตสถานที่แห่งนี้ จะมีสถานที่หล่อ และเก็บพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน โดยฝีมือของคนในท้องถิ่น ซึ่งพบสถานที่ขุดทองเหลืองมาหล่อเป็นพระพุทธรูปอยู่ถัดออกไปทางทิศตะวันออก ซึ่งมีชื่อเรียกว่าดอยบ่อทอง (บ่อตอง) เป็นบ่อร้างอยู่บนยอดดอย ยังคงมีให้เห็น ในปัจจุบัน และภายหลังได้เริ่มมีชาวบ้านเข้ามาอาศัยอยู่ แต่ไม่มีผู้คนเข้าไปดูแลปฏิสังขรณ์ นานเข้าก็เกิดการชำรุดทรุดโทรมหักพังไป เนื่องจากผู้คนมีความเชื่อและเกรงกลัว ด้วยเป็นวัดร้าง (วัดห่าง) แต่มีพระพุทธรูปตลอดจนพระเครื่อง อยู่มากมาย จึงทิ้งไว้ไม่ได้ดูแลจนทำให้พระพุทธรูป ถูกก้อนอิฐและกระเบื้องพังทับถมไว้ใต้ดิน นานต่อนานเป็นเวลาหลายปี
ต่อมาได้มีเจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเชียงของสมัยนั้นได้ทราบข่าวนี้จึงได้เดินทางมากับชาวฝรั่งเศสที่มาค้าไม้สักยังประเทศลาว ได้พากันมาที่วัดร้างแห่งนี้และได้ทำการขุดค้นเอาพระพุทธรูปขึ้นมา แล้วให้คนงานขนลงมายังวัดหลวง และคัดเลือกเอาเฉพาะพระพุทธรูปองค์ที่สวยงามและเท่าที่สามารถขนกลับไปยังบ้านเมืองเขาได้ ส่วนองค์ที่ชำรุด หรือมีตำหนิก็ทิ้งไว้ สำหรับการขนส่งในสมัยนั้นส่วนมากจะใช้เรือ ในการขนส่งจากแม่น้ำอิงลงสู่แม่น้ำโขง ส่วนพระพุทธรูปที่นำกลับไปไม่ได้ก็นำไปเก็บไว้ในวิหารวัดหลวง ดังที่เราได้กราบไหว้บูชา อยู่ในปัจจุบัน   ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่นำมาจากวัดพระเจ้าเข้ากาดทั้งสิ้น และเป็นพระพุทธรูปที่เหลือจากการคัดลงเรือไปยังแม่น้ำโขงในสมัยนั้นนั่นเอง
ในปี พ.ศ.2500 ชาวบ้านหลวงได้พากันขึ้นไปขุดค้นเพื่อหาพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ ซึ่งสามารถขุดพบพระพุทธรูปหลายรูปแบบมากมาย เช่น พระพิมพ์ที่ทำด้วยเนื้อชิน เนื้อดินเผา เนื้อผงมุก โลหะอื่นๆ บางองค์ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ทองคำ หรือเพชรก็มี พระพิมพ์ที่ขุดได้มี
พระใบโพธิ์ชิน ใบโพธิ์ดิน ใบโพธิ์หน้ายักษ์ พระรอด พระคงดำ พระคงแดง พระสองพี่น้อง พระสามเหลี่ยม พระสิงห์ พระนาคสวย พระพุทธรูปที่แกะสลักด้วยหิน แต่ส่วนมากได้ถูกก้อนอิฐและกระเบื้อง ดินเผาทับถมทำให้องค์พระบางส่วนหักเสียหายไป พระพิมพ์ส่วนที่เสียหายไปนั้นมีเป็นจำนวนมากมาย ไม่มีผู้ใดต้องการและสนใจ หลังจากชาวบ้านได้ทำการขุดค้นทำให้สภาพของวัดแห่งนี้ ถูกทำลายไปหมดคงเหลือแต่ซากกองหิน ซากอิฐโบราณ หักพังทับถมกันอยู่ ผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนก็คงไม่รู้ว่าเป็นสถานที่สำคัญ เนื่องจากขาดการดูแลและมีต้นไม้ขึ้นจนจำแทบไม่ได้
ในเวลาต่อมาเหมือนมีสิ่งดลบันดาล ก็ได้มีท่านผู้ใจบุญและสนใจการก่อสร้างพระธาตุขึ้นจริง คือ หลวงพ่อโปร่ง กับหลวงพ่อสถิต มาจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการนำและประสานงานของคุณสุรพล เจ้าของร้านภักดียนต์ยนต์เจริญอำเภอเชียงของ ได้ร่วมมือกันก่อสร้างพระธาตุขึ้นบนวัดร้างดังกล่าว เป็นรูปแบบพระธาตุดอยตุงและดัดแปลงเป็นบางส่วน ตอนกลางมี 4 ซุ้มมีพระพุทธรูปทองเหลืององค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ข้างในซุ้มทั้ง 4 ทิศๆละ 1 องค์ ได้ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2544 เวลา 07.59 นาฬิกา การก่อสร้างโดยความร่วมมือจากเจ้าภาพทั้ง 3 ท่าน เป็นผู้บริจาคทุนทรัพย์ ในการก่อสร้างทั้งหมดส่วนชาวบ้านหลวงเป็นผู้เสียสละแรงงานและวัสดุในท้องถิ่น ตลอดระยะเวลาที่ ทำการก่อสร้าง การก่อสร้างพระธาตุได้ดำเนินมาโดยดีอย่างราบรื่น และเสร็จเรียบร้อยและได้ทำบุญฉลองพระธาตุตามกำหนดการในวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ชาวบ้านหลวงได้แห่เครื่องไทยทานขึ้นไปถวายทาน มีงานสมโภชน์ 1 คืน คือวันที่ 11 พฤษภาคม 2545 เวลา 09.39 น. ทำพิธียกฉัตร (ยอดพระธาตุ) และใส่หัวใจพระธาตุ ถวายจตุปัจจัยไทยทาน รวมเวลาทำการก่อสร้างพระธาตุ 1 ปี 1 เดือน การก่อสร้างพระธาตุก็ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว
เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2544 พี่น้องชาวบ้านหลวงได้ร่วมกันไปพัฒนาบนดอยพระเจ้าเข้ากาด เป็นเวลา 4 วันโดยมีการปรับบริเวณและพื้นที่มีสภาพดีขึ้น สร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนในหมู่บ้านกับพระธาตุจนสามารถนำรถยนต์ขึ้นไปบนพระธาตุได้  ซึ่งเป็นโชคดีของ พี่น้องชาวบ้านหลวงทุกๆ คน ที่ได้พระธาตุไว้เป็นที่เคารพสักการบูชา คู่บ้านคู่เมืองสืบต่อไปและที่น้องชาวบ้านหลวงยังภาคภูมิใจที่มีโบราณสถานโบราณวัตถุ ที่มีคุณค่าควรรักษาไว้คู่บ้านคู่เมืองตลอดไป

18 มกราคม 2564

พระธาตุเขาเขียว,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ประวัติพระธาตุเขาเขียว
ตั้งอยู่ที่บ้านครึ่งเหนือ  ตำบลครึ่ง  อำเภอเชียงของ  จังหวัดเชียงราย  ค้นพบโดยพ่ออาจารย์หนานแก้ว  พัฒนพงษ์ศิริ  ผู้สูงอายุของบ้านครึ่งเหนือโดยท่านได้อ่านจากสมุดข่อย (ปั๊บกระดาษสา)ซึ่งเป็นภาษาไทยล้านนา(ตั๋วเมือง) เขียนเป็นภาษาไทยได้ข้อความดังนี้
พระธาตุเขาเขียวสร้างมาประมาณ พ.ศ.2401 โดยพระยาแสนหมวกเหล็ก ซึ่งมีบุตรสาวอยู่ 3 คน
คนแรก     ชื่อนางปุก ได้สร้างพระธาตุนาปุก ตั้งอยู่ที่บ้านหก ต.บุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย
คนที่สอง   ชื่อนางบัวเขียว ได้สร้างพระธาตุเขาเขียว ตั้งอยู่ที่ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย
คนที่สาม   ชื่อนางเกี๋ยงได้สร้างพระธาตุบ้านเกี๋ยง  ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยซ้อ  อ.เชียงของ จ.เชียงราย
พระธาตุทั้งสามองค์นี้จึงเรียกว่า “พระธาตุสามพี่น้อง”  ในเวลาต่อมาได้มี ครูบาธรรมสาร  ครูบาพรมสาร  ครูบาวิสาร  และผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ร่วมกันบูรณะ  ปฏิสังขรณ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
       และต่อมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน องค์พระธาตุถูกระเบิดชำรุดพังทลายและหลุมลึก มีผู้เล่าว่ามีผู้พบเห็นหลุมลึกนี้ประมาณ พ.ศ.2480  ต่อมาได้มีนักแสวงพระเครื่องได้ลงไปขุดหลุมลึกเพื่อหาพระเครื่อง วันต่อมาก็ได้พบงูเหลือมใหญ่นอนขดตัวอยู่ในหลุมนั้น  เข้าใจว่าอาจเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องพระธาตุไว้คุ้มครองรักษาสถานที่และสิ่งของมีค่าไว้  และต่อจากนั้นมาก็ไม่มีใครกล้าลงไปขุดคุยพระเครื่องและของมีค่าอีกเลย  ในปี พ.ศ.2500 มีพระธุดงค์รูปหนึ่งชื่อ พระสิทัศน์หรือ พระสุทัศน์ ได้เดินทางขึ้นไปปฏิบัติธรรมบริเวณที่ชาวบ้านพบหลุม  ชาวบ้านจึงกราบนิมนต์ให้ท่านได้ช่วยบูรณะก่อสร้างพระธาตุเขาเขียว ในการก่อสร้างจะต้องใช้น้ำในการก่อสร้าง ท่านจึงได้นำชาวบ้านมาขุดบ่อตามเชิงเขา  ได้มีพ่อสลาลายคำ  สุขสบาย เป็นผู้นำในการขุดบ่อ บ่อน้ำที่ขุดได้นี้ชาวบ้านเรียกว่า “บ่อน้ำทิพย์”  มีน้ำใช้ตลอดปีมีชาวบ้านบางคนได้ตักน้ำมาแล้วตั้งสัจจะอธิฐาน ใช้ดื่มกินแล้วหายป่วยมีผู้เล่าว่าในปีหนึ่งมีผู้หญิงคนหนึ่งได้ไปวิดน้ำเพื่อหาปลาในบ่อ ทำให้ปีนั้นน้ำแห้งขอด ชาวบ้านบางคนได้ตักน้ำมาแล้วตั้งสัจจะอธิษฐานใช้ดื่มกินแล้วหายป่วยมีผู้เล่าว่าในปีหนึ่งมีผู้หญิงคนหนึ่งได้ไปวิดน้ำเพื่อหาปลาในบ่อทำให้ปีนั้นน้ำแห้งขอด ชาวบ้านจึงพากันนำเอาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา ต่อจากนั้นมาก็มีน้ำในบ่อใช้ตลอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
                ในปี พ.ศ.2501  จึงได้เริ่มบูรณะก่อสร้างและดำเนินการจนเสร็จในปีนั้น หลวงพ่อทัศน์ปัจจุบันนี้ปฏิบัติธรรมอยู่ที่ วัดถ้ำผาแล  อำเภอเวียงแก่น  ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านครึ่งเหนือและตำบลครึ่ง  ตลอดจนตำบลใกล้เคียงได้มีประเพณีการทำบุญสรงน้ำพระธาตุ  ในวันเพ็ญเดือน 10 (ที่อำเภอเชียงของเป็นเดือน 11) ของทุกๆ ปี ชาวบ้านครึ่งเหนือและชาวตำบลครึ่งและตำบลใกล้เคียงก็จะมาร่วมทำบุญประเพณีทานก๋วยสลากและบูชาพระธาตุในวันเพ็ญเดือน 6(วันวิสาขบูชา)พระธาตุองค์นี้  ต่อมาพระครูศุภกิจ  วิธาน  เจ้าคณะตำบลครึ่ง  อ.เชียงของ ได้ตั้งชื่อว่า “พระธาตุเขาเขียว”
                ในปลายปี 2540 คณะสงฆ์ตำบลครึ่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านไวยาวัจกร มัคทายกและราษฎร์ตำบลครึ่ง ได้ประชุมพิจารณาเพื่อที่จะบูรณะพระธาตุ เขาเขียวอีกครั้งหนึ่งโดยทำหนังสือกราบนิมนต์ ดร.สุพรหมยานเถร(พระอาจารย์ทอง สิริมงคลโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมทองวรวิหารเจ้าคณะอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่เป็นองค์ประธานดำเนินการ ซึ่งท่านก็รับพิจารณาดำเนินการ และท่านได้มอบหมายให้แม่ชีละเอียด  เภรีภาส  เป็นผู้ประสานงานปรับปรุงพัฒนาและเป็นอาจารย์ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ในการบูรณะและพัฒนาได้รับการสนับสนุนจากคุณแม่สมศรี  วังทองคำ  จาก จังหวัดเชียงใหม่ และโยมอุปถัมภ์จากทั่วสารทิศได้รับความอนุเคราะห์จากทุกฝ่าย เช่น หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ กรป.กลาง จ.เชียงราย ท่านพระครูบารัตนธรรม เจ้าคณะ อ.เชียงของ  พระครูศุภกิจวิธาน เจ้าคณะ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ  นายสุชาติ  สุวรรณกาศ  นายอำเภอเชียงของ  นายชัยศิษย์  แกล้วกล้าศึกษาธิการ อ.เชียงของ  นายเชวง  ไชยสาร  กำนัน ต.ครึ่ง  นายปัน  วิจิตรละไม  ผู้ใหญ่บ้านครึ่งเหนือ  องค์การบริหารส่วนตำบลครึ่ง  สถานีอนามัย  ต.ครึ่ง  ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ในตำบลครึ่ง และราษฎรในตำบลครึ่ง ได้ช่วยกันส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการ

18 มกราคม 2564

พระธาตุศรีลานนา,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

พระธาตุเจดีย์ศรีล้านนา
      ตั้งอยู่หมู่ 5 ต.ครึ่ง อ.เชียงของ ทุกปีในวันเพ็ญเดือน 8 เหนือ จะมีพิธีนมัสการและสรงน้ำพระธาตุของชาวล้านนาต้องเตรียมเครื่องสักการะ ดอกไม้ธุปเทียน ฝักส้มป่อย หม้อไห ข้าวสุก ข้าวสาร อาหารแห้ง จากนั้น จะพากันเข้าพักในศาลาบาตรที่รายล้อมองค์เจดีย์ หรือรายล้อมตามแนวกำแพงวัดด้านใน แล้วจึงไปปัดกวาดลานพระธาตุ  ลานต้นโพธิ์ เรียกว่าอุปัฎฐากพระธาตุ ถึงเวลากลางคืนมีการจุดธูปเทียนถวายข้าวตอกดอกไม้ ทำวัตรสวดมนต์  สวดกล่าวคำไหว้พระธาตุเป็นภาษาบาลี

18 มกราคม 2564

มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

http://www.3r-foundation.or.th/th/network/network3r/north/detail/178/
แหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน เทศบาลตำบลครึ่ง จ.เชียงราย  เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งที่ 5 ของประเทศและเป็นแห่งที่ 2 ของภาคเหนือ มีจุดเริ่มต้นจากการที่พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่าน ว.วชิรเมธี) ได้ร่วมการเสวนา “3R กลยุทธ์นำไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” จากงานดังกล่าวท่านมีความสนใจและเห็นถึงความสำคัญของเรื่องปัญหาขยะและวัสดุรีไซเคิลเป็นอย่างยิ่ง และได้เยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิลเพิ่มเติม ณ แหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เขตประเวศ จ.กรุงเทพฯ ภายหลังการศึกษาดูงานดังกล่าว ท่านจึงมีความประสงค์ให้ขยายผลการดำเนินการไปยังชุมชนบ้านครึ่งใต้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน เพื่อเป็นต้นแบบการเรียนรู้แนวทางการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนตั้งแต่ต้นทาง และขยายองค์ความรู้ต่อไปยังชุมชนอื่นๆในพื้นที่ต่อไป
        สำหรับแหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนเทศบาลตำบลครึ่ง มีจุดเด่นในด้านการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนนำไปสู่การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” และมีความเข้มแข็งในแบบการพึ่งพาตนเอง รวมถึงมีการส่งเสริมในด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

แหล่งเรียนรู้ฯ เทศบาลตำบลครึ่ง ประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ จำนวน 4 ฐาน ดังนี้
ฐานการเรียนรู้ที่ 1 บ้านครึ่งใต้ หมู่ที่ 3
     บ้านครึ่งใต้ มีระบบการบริหารจัดการหมู่บ้านตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เน้นกระบวนการพึ่งตนเองเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้าน มีการเปิดเวทีประชาคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา จนพัฒนาเป็นหมู่บ้านน่าอยู่และอยู่ในระดับ “มั่งมี ศรีสุข” เกิดการรวมกลุ่มต่างๆ ในชุมชน โดยในฐานบ้านครึ่งใต้ ประกอบด้วย 11 ฐานย่อย ดังนี้
1. แหล่งเรียนรู้ด้านการทอผ้า และการบริหารจัดการกลุ่ม
เรียนรู้กระบวนการทอผ้า และการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋า ผ้าถุง เสื้อผ้าชุดพื้นเมือง เป็นต้น รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงไปสู่ระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบล
2. แหล่งเรียนรู้การตัดเย็บเสื้อผ้า
เรียนรู้กระบวนการและการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายสตรีทอผ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำผ้าจากกลุ่มสตรีทอผ้ามาแปรรูป จนนำไปสู่การรับผ้าจากโรงงานมาตัดเย็บเป็นอาชีพเสริมได้อีกทางหนึ่ง
3. แหล่งเรียนรู้อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน
เรียนรู้การจัดกิจกรรมของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน การนวดแผนโบราณโดยการตอกคลายเส้น พร้อมการสาธิต
4. แหล่งการเรียนรู้น้ำดื่มชุมชน
เรียนรู้กระบวนการทำงานของระบบ ในส่วนการติดตั้ง การจ่ายระบบน้ำ การซ่อมบำรุงรักษา รวมทั้งการบริหารจัดการของกลุ่ม เพื่อลดรายจ่ายของชาวบ้านในการซื้อน้ำดื่มจากโรงงานภายนอกชุมชน
5. แหล่งเรียนรู้การทำแคบหมู/ขนม/น้ำพริก
เรียนรู้การทำแคบหมู ขนม น้ำพริกสูตรต่างๆ ตามท้องถิ่น รวมถึงการถนอมอาหาร และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถนำไปสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนได้
6. แหล่งเรียนรู้การจักสานหวาน/ไม้ไผ่
เรียนรู้การจักสานหวาย/ไม้ไผ่ของชุมชน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมงานหัตถกรรม พัฒนาต่อยอด เพื่อตอบสนองความต้องการในการดำรงชีวิตและสร้างรายได้เสริม
7. แหล่งเรียนรู้การคัดแยกขยะ และร้านศูนย์บาท
เรียนรู้เกี่ยวกับร้านศูนย์บาท การคัดแยกขยะประเภทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุรีไซเคิล ซึ่งมีมูลค่าแทนเงินสดในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน รวมทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของชุมชนได้ นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ในการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ โดยการประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้อีกทางหนึ่ง
8. แหล่งเรียนรู้กลุ่มเพาะเลี้ยงไส้เดือน
เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน โดยการเพาะเลี้ยงไส้เดือน ซึ่งไส้เดือนทำหน้าที่ในการช่วยย่อยสลายขยะอินทรีย์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้น้ำและมูลจากการเพาะเลี้ยงไส้เดือนยังสามารถนำไปใช้แทนปุ๋ยเคมีในแปลงเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
9. แหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาในนาข้าว
เรียนรู้การทำการเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสาน ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่
10. แหล่งเรียนรู้ประวัติท่าน ว.วชิรเมธี
เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติและถิ่นกำเนิดของท่านมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
11. แหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน
เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการน้ำโดยใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมการสาธิต
ฐานการเรียนรู้ที่ 2 บ้านประชาภิวัฒน์ หมู่ที่ 10
เน้นการเรียนรู้การจัดการขยะในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเรียนรู้วิถีชีวิต และภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 ฐานย่อย ดังนี้
1.  แหล่งเรียนรู้การคัดแยกขยะและสิ่งประดิษฐ์รีไซเคิล
เรียนรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตามประเภท และการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ โดยการประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้าต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน
2. แหล่งเรียนรู้ร้านค้าเครือข่าย ร้านศูนย์บาท
เรียนรู้การใช้วัสดุรีไซเคิลแทนเงินสดในการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ตามร้านค้าเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยไม่จำกัดประเภทสินค้าในค้าร้านเครือข่าย เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
3. แหล่งเรียนรู้กลุ่มทอผ้า
เรียนรู้กระบวนการทอผ้า และการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋า ผ้าถุง เสื้อผ้าชุดพื้นเมือง รวมทั้งพัฒนาและปรับปรุงไปสู่ระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบล
4. แหล่งเรียนรู้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (บ้านครึ่งใต้และบ้านประชาภิวัฒน์)
เรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจากวัสดุในท้องถิ่น ซึ่งมีวิธีการตั้งแต่การเทกอง จนบรรจุในรูปปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ด เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตสินค้าทางการเกษตร และเพิ่มมูลค่าให้มีปุ๋ยมีราคาที่สูงขึ้น
5. แหล่งเรียนรู้โรงสีข้าวกล้อง (บ้านครึ่งใต้)
เรียนรู้กรรมวิธีการสีข้าวกล้องพร้อมการสาธิต

ฐานการเรียนรู้ที่ 3 โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลครึ่ง
เน้นการศึกษาการออมขยะเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน และการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและเศษวัสดุเหลือใช้มาผลิตเป็นสิ่งประดิษฐ์ โดยประกอบด้วย 2 ฐานย่อย ดังนี้
1.  กิจกรรมออมขยะ ออมบุญ (ผ้าป่ารีไซเคิล) 
เรียนรู้การออมบุญ หรือการทำบุญโดยใช้ขยะรีไซเคิลแทนเงินสด ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อยอดจากร้านศูนย์บาทบ้านครึ่งใต้  โดยขยะรีไซเคิลที่ได้จะให้ทางกลุ่มคัดแยกขยะมารับ และให้คูปองกับทางโรงเรียนเพื่อนำไปแลกสินค้าภายในร้านศูนย์บาท สำหรับผลกำไรจากกิจกรรมใช้สำหรับเยี่ยมผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงในเขตพื้นที่ตำบลครึ่ง
2.  กิจกรรมสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้
เรียนรู้การทำดอกไม้ประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้โดยกลุ่มนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น การทำดอกไม้จันทน์ พวงรีด และสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ สำหรับจำหน่ายในพิธีขาว-ดำ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ และมอบรายได้ส่วนหนึ่งกับเจ้าภาพในพิธีเพื่อเป็นการร่วมทำบุญ
 
ฐานการเรียนรู้ที่ 4 โรงเรียนบ้านหลวง
ฐานการเรียนรู้โรงเรียนบ้านหลวง เน้นการศึกษาการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนตามรูปแบบธนาคารวัสดุรีไซเคิล เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะและปลูกฝังนิสัยการออมให้กับเยาวชน โดยรายได้จากผลต่างการจำหน่ายวัสดุรีไซเคิล นำไปซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคเพื่อเยี่ยมเยียนผู้พิการในชุมชน

18 มกราคม 2564

วัดครึ่งใต้,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

วัดครึ่งใต้  ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๘  หมู่ที่  ๓  ตำบลครึ่ง  อำเภอเชียงของ  จังหวัดเชียงราย
มีเนื้อที่  ๔  ไร่  ๑  งาน  ๙๑  ตารางวา  อาณาเขตของวัด  มีดังนี้
                        ทิศเหนือ           ติดกับถนนสาธารณะประโยชน์
                        ทิศใต้               ติดกับถนนสาธารณะประโยชน์
                        ทิศตะวันออก   ติดกับถนนสาธารณะประโยชน์
                        ทิศตะวันตก     ติดกับโรงเรียนบ้านครึ่งใต้
            วัดครึ่งใต้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน  ๒๕๑๘  ตามบันทึกของผู้คนในอดีต ได้เริ่มก่อสร้างวัดเมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๔๔๗ ในสมัยของเจ้าหลวงอินตะยศ เจ้าหลวงเมืองเชียงขององค์ที่ ๗ จากนั้นได้มีการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้งจนกระทั้งปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ พระครูโสภณจริยกิจ ซึ่งตำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงเชียงของอยู่ในขณะนั้น ได้ชักชวนและขอความร่วมมือกับชาวเชียงของสร้างวิหาร และกุฏิ  จำนวน ๓๑  วัด  รวมทั้งวัดครึ่งที่ได้ก่อสร้างตั้งแต่นั้นมา
ลำดับเจ้าอาวาส
1.  พระอธิการบุญรัตน์            2469 – 2488
2.  พระอธิการก้อนแก้ว           2488 – 2491
3.  พระอธิการอิ่นคำ                2497 – 2499
4.  พระอธิการจันติ๊ป               2499 – 2500
5.  พระอธิการประกาย            2500 – 2502
6.  พระอธิการสวัสดิ์                2502 – 2506
7.  พระอธิการบุญผาย            2507 – 2508
8.  พระอธิการประพัฒน์          2508 – 2509
9.  พระอธิการศรีจันทร์            2509 – 2511
10.  พระอธิการสมบูรณ์          2511 – 2513
11.  พระอธิการมงคล              2513 – 2514
12.  พระอธิการดวงดี              2514 – 2515
13.  พระครูวิรุฬห์วิริยธรรม      2515 - จนถึงปัจจุบัน

18 มกราคม 2564

ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ อ.เชียงของ,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ อ.เชียงของ "เชียงของ RECYCLING CENTER"

บริหารจัดการโดยบริษัท ฟาร์มดี เซอร์วิส จำกัด โดยมีการดำเนินงานภายใต้มติของชุมชน

ส่งเสริมการจัดการขยะรีไซเคิล ประเภท ถุงพลาสติก กล่องนม ผ่านการใช้แอพพลิเคชั่น

ในการดำเนินงานการจัดเก็บข้อมูล การซื้อ - ขายผ่านระบบแอพพลิเคชั่น "ZERO.NET"

ทั้งนี้ ศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ อ.เชียงของ ได้รับเกียรติจากนายทัศนัย สุธาพจน์

นายอำเภอเชียงของ เป็นที่ปรึกษาของศูนย์ฯ โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่าง

ภาคีเครือข่ายภายในพื้นที่เทศบาลตำบลครึ่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเชียงของ

ทั้ง 8 แห่ง ร่วมกันเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา

18 มกราคม 2564

 กาดพอเพียง,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

กาดพอเพียง ตั้งอยู่ตรงข้ามสนามกีฬากลางเทศบาลตำบลครึ่ง เปิดทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 12.00 น. - 18.00 น. โดยประมาณ สินค้าส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางเกษตร และสินค้าโอท๊อปของประชาชนในพื้นที่ อาทิ ผักสวนครัว ปลาน้ำจืด ผลิตภัณฑ์จากหวาย ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ผลิตภัณฑ์ข้าวไรเบอรรี่ ข้าวปิฎก อาหารแปรรูปอื่นๆ     

24 มิถุนายน 2561

ข้อมูลสนามกีฬาในพื้นที่เทศบาลตำบลครึ่ง  ,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ข้อมูลสนามกีฬาในพื้นที่เทศบาลตำบลครึ่ง มีทั้งหมด 9 แห่ง 1.สนามกีฬาโรงเรียนบ้านส้าน 2.สนามกีฬาโรงเรียนบ้านครึ่ง 3.สนามกีฬาโรงเรียนบ้านครึ่งใต้ 4.สนามกีฬาโรงเรียนบ้านหลวง 5.สนามกีฬาโรงเรียนบ้านศรีลานนา 6.สนามกีฬาโรงเรียนบ้านตองม่วงชุม 7.ลานกีฬาอเนกประสงค์บ้านตองม่วงชุม 8.สนามกีฬากลางอำเภอเชียงของ 9.สนามกีฬาเทศบาลตำบลครึ่ง

สนามกีฬาที่ใช้ได้ในตอนกลางคืน มี 1 สนาม คือ สนามกีฬาเทศบาลตำบลครึ่ง

-

ห้องสมุด ว.วชิรเมธี,เทศบาลตำบลครึ่ง,khrueng.go.th

ขอเชิญร่วม บริจาคหนังสือ เช่นจุลสาร วารสาร นิตยสาร และหนังสืออื่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย และสร้างพฤติกรรมรักการอ่านของประชาชนรวมถึงการสร้างโอกาสเข้าถึงหนังสือของประชาชน

-

|< << 12

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 / 2  (24 รายการ)